สรรพคุณสุดเด็ดของใบมะรุม

แนะนำ
เกี่ยวกับ สรรพคุณของใบมะรุมแทรกซึมอยู่แทบทุกส่วนของต้นมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบมะรุม ฝักมะมุมเปลือกต้น หรือรากมะรุม ทว่าใบมะรุมจะเป็นส่วนที่มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบีสูงมาก ค้ะ 
      


   มะรุม อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของสมุนไพรไทย ที่ใครก็ต่างยกย่องว่าประโยชน์ของมะรุมนั้นเด็ดจริง

          ต้นมะรุมหาไม่ยากเลยในบ้านเรา แต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จักมะรุมกันมากนัก ซึ่งนี่ล่ะที่เป็นความพลาดอย่างแรง เพราะมะรุมเป็นพืชสมุนไพรที่ประโยชน์มากล้น เผลอ ๆ อาจเทียบชั้นกับซูเปอร์ฟู้ดอื่น ๆ ได้สบาย

รู้จักต้นมะรุมกันก่อน

          มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร  





คุณค่าทางสารอาหาร

          1. โปรตีนสูง เฉลี่ยแล้วมะรุมมีโปรตีนแซงหน้านมสดถึง 2 เท่า

          2. อุดมไปด้วยวิตามินเอ เฉลี่ยแล้วมากกว่าแครอท 3 เท่า

          3. แคลเซียมสูงกว่านมสดประมาณ 3 เท่า

          4. โพแทสเซียมในมะรุมมีมากกว่ากล้วย 3 เท่า

          5. ใยอาหารสูงมาก

          6. แคลอรีต่ำ

          7. อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมากถึง 8 ชนิด ได้แก่ ไอโซลิวซีน​ (ISOLEUCINE),​ ลิวซีน (LEUCINE), ไลซีน (LYSINE), เมไธโอนีน (METHEONINE), ฟีนิลอะลานีน (PHENYLALAINE), ทรีโอนีน (THREONINE), ทริทโอยีน (TRYTOHYAN) และกรดอะมิโนวาลีน (VALINE) ซึ่งล้วนแต่เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายผลิตขึ้นเองไม่ได้

คุณค่าทางสารอาหาร

          1. โปรตีนสูง เฉลี่ยแล้วมะรุมมีโปรตีนแซงหน้านมสดถึง 2 เท่า

          2. อุดมไปด้วยวิตามินเอ เฉลี่ยแล้วมากกว่าแครอท 3 เท่า

          3. แคลเซียมสูงกว่านมสดประมาณ 3 เท่า

          4. โพแทสเซียมในมะรุมมีมากกว่ากล้วย 3 เท่า

          5. ใยอาหารสูงมาก

          6. แคลอรีต่ำ

          7. อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมากถึง 8 ชนิด ได้แก่ ไอโซลิวซีน​ (ISOLEUCINE),​ ลิวซีน (LEUCINE), ไลซีน (LYSINE), เมไธโอนีน (METHEONINE), ฟีนิลอะลานีน (PHENYLALAINE), ทรีโอนีน (THREONINE), ทริทโอยีน (TRYTOHYAN) และกรดอะมิโนวาลีน (VALINE) ซึ่งล้วนแต่เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายผลิตขึ้นเองไม่ได้

ใบมะรุม

ใบมะรุม สรรพคุณสุดยอด

          สรรพคุณของมะรุมแทรกซึมอยู่แทบทุกส่วนของต้นมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบมะรุม ฝักมะมุม เปลือกต้น หรือรากมะรุม ทว่าใบมะรุมจะเป็นส่วนที่มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบีสูงมาก รวมทั้งธาตุเหล็กก็สูงไม่แพ้กัน จนกระทั่งงานวิจัยต่างประเทศยังยกให้ใบมะรุมเป็นซูเปอร์ฟู้ดชนิดหนึ่งเลยทีเดียว เอาล่ะ ! ลองมาดูกันชัด ๆ อีกทีสิว่า ใบมะรุมมีสรรพคุณอะไรอีกบ้าง


          1. ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด 

          2. เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ

          3. ทำให้นอนหลับง่าย

          4. แก้ไข้

          5. ลดไขมันในเลือด

          6. บำรุงตับ

          7. ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน

          8. แก้อักเสบ

          9. ช่วยลดความดันโลหิต เมื่อนำสารสกัดจากใบไปผสมน้ำและเอทานอล
   
          10. ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

          11. บำรุงกำลัง

          12. บรรเทาอาการปวดข้อ

          13. รักษาแผลเปื่อย

          14. สารสกัดจากใบสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้

          15. บำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้แข็งแรง

          16. ต้านอนุมูลอิสระได้

          17. น้ำคั้นสดของใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

          18. สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

          19. ช่วยบำรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร

          20. ช่วยคงสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยให้อารมณ์คงที่


ข้อความระวังในการกินมะรุม
          1. ผู้ป่วยที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหมั่นตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ตรวจพบว่ามีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น

          2. สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังการรับประทานมะรุมในทุก ๆ ส่วน เพราะจากการทดลองความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า การรับประทานมะรุมเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดการสะสมของสารบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นพิษและทำให้เกิดการแท้งได้

          อย่างไรก็ดี สรรพคุณของมะรุมในหลาย ๆ ข้อ ต้องผ่านการสกัดใบมะรุมด้วยตัวทำละลาย เพื่อให้ง่ายต่อการป้อนสัตว์ทดลอง ดังนั้นหากเราจะทานมะรุมสด ๆ ก็อาจช่วยรักษาโรคและบำรุงสุขภาพได้เช่นกัน แต่ก็อย่าหวังผลการรักษาที่มากเกินไป และไม่ควรรับประทานมะรุมในปริมาณมาก หรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไปด้วยนะคะ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรรพคุณรางแดง

สรรพคุณทุ้งฟ้า

สรรพคุณตรีชวา